วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2552

งาดำ ธัญพืชมหัศจรรย์2

งาดำ ได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน จนมีการนำงาดำไปเป็นส่วนประกอบของอาหารมากมาย ประโยชน์ของงาดำหรือน้ำมันงานั้นมีการใช้กันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งปัจจุบันได้พบว่าคุณค่าในเมล็ดงานั้นเกิดจากสารอาหารมากมาย ทั้งโปรตีน กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว วิตามิน แร่ธาตุต่างๆ จนกระทั่งล่าสุดคือสารต้านอนุมูลอิสระ ที่เรียกว่า เซซามิน มาทำความรู้จักกับสารแร่ธาตุที่สำคัญในงาดำกันนะครับ โดยจะเทียบกับปริมาณงาดำประมาณ 1/4 ถ้วยหรือ 36 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณโดยคร่าวๆไว้เปรียบเทียบนะครับ
ทองแดง(copper)
แร่ธาตุตัวแรกที่จะกล่าวถึง คือแร่ธาตุที่มีสัดส่วนที่ร่างกายต้องการมากที่สุดในงาดำครับ ในงาดำ1/4ถ้วยจะมีทองแดงอยู่ประมาณ 1.48 มก. ซึ่งปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยคือ 2 มก. คิดเป็นประมาณ 74% ของปริมาณที่ร่างกายต้องการ ทองแดงมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและบรรเทาปวด ในแพทย์แผนบัจจุบันยังมีการใช้ทองแดงเป็นยารักษาโรคปวดข้อรูมาตอยด์ นอกจากนั้นทองแดงยังมีส่วนสำคัญในกระบวนการเสริมสร้างกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้ออีกด้วยครับ ต่อไปจะนำเรื่องราวของแร่ธาตุตัวอื่นๆในงาดำมาเล่าสู่กันฟังนะครับ
แมกนีเซียม(magnesium)
แร่ธาตุตัวที่สองในงาดำคือแมกนิเซียม ในงาดำ1/4ถ้วยมีแมกนีเซียมประมาณ 126.36 มก.ปริมาณที่คนไทยต้องการต่อวันคือ 350 มก.คิดเป็น 36% นะครับ โดยแมกนีเซียมจะเกี่ยวข้องกับระบบหลอดเลือดและระบบหายใจเป็นหลักครับ มีการศึกษาถึงประโยชน์ของแมกนีเซียมในด้านต่างๆต่อไปนี้

  • ป้องกันการหดตัวของหลอดลมในโรกหอบหืด
  • ลดความดันโลหิต
  • ลดอาการปวดศีรษะจากไมเกรน
  • ปรับสมดุลของการนอนหลับ
แคลเซียม(calcium)
งาดำเป็น ธัญพืชที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ในงาดำ 1/4 ถ้วย มีแคลเซียมปนะมาณ 351มก. คิดเป็น44%ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน มีการศึกษาถึงบทบาทของแคลเซียมพบว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายในด้าน
  • การป้องกันมะเร็งลำใส้ใหญ่
  • ป้องกันการเสื่อมสลายของมวลกระดูก
  • ป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน
  • ลดอาการปวดประจำเดือน
สังกะสี(zinc)
ในงาดำ ยังมีธาตุสังกะสีในปริมาณที่มากครับ ใน 1/4 ถ้วยของงาดำ(36กรัม) มีสังกะสีประมาณ 2.8 มก.คิดเป็นร้อยละ 18 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน(ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 15 มก.) สังกะสีมีส่วนสำคัญในโครงสร้างของมวลกระดูก การขาดสังกะสีทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ในวัยสูงอายุหรือหญิงวัยหมดประจำเดือน โดยเฉพาะกระดูกสันหลังและกระดูกสะโพกซึ่งมีความเสี่ยงต่อการหักในผู้สูงอายุเวลาหกล้มหรือเกิดอบัติเหตุ


ข้อมูลหลักได้มาจาก whfoods.com นะครับ
สำหรับปริมาณแร่ธาตุที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทย ผมได้ทำลิงค์ไว้ด้านข้างนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น: