วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2552

รู้จักงาดำ...ธัญพืชมหัศจรรย์

งาดำ ธัญพืชเมล็ดจิ๋วที่มีคุณค่ามากมาย "งาดำ" มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Sesamum oreintale L. ชื่อสามัญคือ sesame มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ประเทศเอธิโอเปีย ถูกนำเข้าไปในอินเดียก่อนที่จะขยายพันธุ์เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก มีการนำงาดำมาใช้ประโยชน์หลักๆสามด้าน คือ อาหาร ยาสมุนไพร และ ด้านความงาม

ในเมล็ดงา มีสารอาหารที่สำคัญ ได้แก่ โปรตีนประมาณ 20-25% ไขมันประมาณ 45-55% เป็นนำมันที่มีกลิ่นหอม และกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูง (กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ ไม่ก่อให้เกิดโรคอ้วน ในทางตรงกันข้ามยังช่วยลดกรดไขมันชนิด LDL ที่เป็นสาเหตุของไขมันอุดตันในเส้นเลือดและโรคหัวใจด้วย ) นอกจากนั้นยังมีวิตามินบี และ วิตามินอี สูง มีเกลือแร่ที่สำคัญคือ เหล็ก ฟอสฟอรัส แคลเซียม ไอโอดีน สังกะสี และ เซเลเนียม สำหรับพระเอกตัวหนึ่งในงาที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้เลย คือ สารต้านอนุมูลอิสระ ที่ชื่อ เซซามิน (sesamin) หรือเซซามิโอ (sesamio) ได้มีการวิจัยที่น่าสนใจอย่างมากเกี่ยวกับประโยชน์ของสารเซซามิโอโดย รศ. ดร. ปรัชญา คงทวีเลิศ หน่วยวิจัยที่มีความเป็นเลิศทางด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อของประเทศไทย ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผมได้ใส่ลิ้งค์ไว้ด้านข้างสำหรับผู้ที่สนใจเข้าไปอ่านเพิ่มเติมครับ

การใช้ประโยชน์จากงาดำมีมาแต่โบราณ มีหลักฐานว่าหญิงตั้งครรภ์นิยมใช้น้ำมันงาทาหน้าท้อง เพื่อป้องกันหน้าท้องแตกลาย เพราะน้ำมันงาจะช่วยลดแรงตึงของผิวหนังได้ นอกจากนี้ยังมีการนำมาใช้ในการหมักผมให้ดกดำ นุ่มสลวยเงางาม ในการแพทย์อายุรเวชนิยมใช้น้ำมันงาดิบในการนวดตัว ขจัดอาการปวดเมื่อย คลายกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เคล็ดขัดยอก ในทางการแพทย์ตะวันตกและตะวันออกระบุว่า "งาดำ" มีคุณค่าที่ดีต่อ ผม หนังศีรษะ และผิวพรรณ ( ปัจจุบันพบว่าสารออกฤทธิ์ดังกล่าวคือ niacin) ส่วนสารในกลุ่มชะลอความแก่คือ กลุ่มสารลิกแนนส์ ไกลโคไซด์ และวิตามินอี

งาดำ ธัญพืชมหัศจรรย์2

งาดำ ได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน จนมีการนำงาดำไปเป็นส่วนประกอบของอาหารมากมาย ประโยชน์ของงาดำหรือน้ำมันงานั้นมีการใช้กันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งปัจจุบันได้พบว่าคุณค่าในเมล็ดงานั้นเกิดจากสารอาหารมากมาย ทั้งโปรตีน กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว วิตามิน แร่ธาตุต่างๆ จนกระทั่งล่าสุดคือสารต้านอนุมูลอิสระ ที่เรียกว่า เซซามิน มาทำความรู้จักกับสารแร่ธาตุที่สำคัญในงาดำกันนะครับ โดยจะเทียบกับปริมาณงาดำประมาณ 1/4 ถ้วยหรือ 36 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณโดยคร่าวๆไว้เปรียบเทียบนะครับ
ทองแดง(copper)
แร่ธาตุตัวแรกที่จะกล่าวถึง คือแร่ธาตุที่มีสัดส่วนที่ร่างกายต้องการมากที่สุดในงาดำครับ ในงาดำ1/4ถ้วยจะมีทองแดงอยู่ประมาณ 1.48 มก. ซึ่งปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยคือ 2 มก. คิดเป็นประมาณ 74% ของปริมาณที่ร่างกายต้องการ ทองแดงมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและบรรเทาปวด ในแพทย์แผนบัจจุบันยังมีการใช้ทองแดงเป็นยารักษาโรคปวดข้อรูมาตอยด์ นอกจากนั้นทองแดงยังมีส่วนสำคัญในกระบวนการเสริมสร้างกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้ออีกด้วยครับ ต่อไปจะนำเรื่องราวของแร่ธาตุตัวอื่นๆในงาดำมาเล่าสู่กันฟังนะครับ
แมกนีเซียม(magnesium)
แร่ธาตุตัวที่สองในงาดำคือแมกนิเซียม ในงาดำ1/4ถ้วยมีแมกนีเซียมประมาณ 126.36 มก.ปริมาณที่คนไทยต้องการต่อวันคือ 350 มก.คิดเป็น 36% นะครับ โดยแมกนีเซียมจะเกี่ยวข้องกับระบบหลอดเลือดและระบบหายใจเป็นหลักครับ มีการศึกษาถึงประโยชน์ของแมกนีเซียมในด้านต่างๆต่อไปนี้

  • ป้องกันการหดตัวของหลอดลมในโรกหอบหืด
  • ลดความดันโลหิต
  • ลดอาการปวดศีรษะจากไมเกรน
  • ปรับสมดุลของการนอนหลับ
แคลเซียม(calcium)
งาดำเป็น ธัญพืชที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ในงาดำ 1/4 ถ้วย มีแคลเซียมปนะมาณ 351มก. คิดเป็น44%ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน มีการศึกษาถึงบทบาทของแคลเซียมพบว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายในด้าน
  • การป้องกันมะเร็งลำใส้ใหญ่
  • ป้องกันการเสื่อมสลายของมวลกระดูก
  • ป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน
  • ลดอาการปวดประจำเดือน
สังกะสี(zinc)
ในงาดำ ยังมีธาตุสังกะสีในปริมาณที่มากครับ ใน 1/4 ถ้วยของงาดำ(36กรัม) มีสังกะสีประมาณ 2.8 มก.คิดเป็นร้อยละ 18 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน(ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 15 มก.) สังกะสีมีส่วนสำคัญในโครงสร้างของมวลกระดูก การขาดสังกะสีทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ในวัยสูงอายุหรือหญิงวัยหมดประจำเดือน โดยเฉพาะกระดูกสันหลังและกระดูกสะโพกซึ่งมีความเสี่ยงต่อการหักในผู้สูงอายุเวลาหกล้มหรือเกิดอบัติเหตุ


ข้อมูลหลักได้มาจาก whfoods.com นะครับ
สำหรับปริมาณแร่ธาตุที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทย ผมได้ทำลิงค์ไว้ด้านข้างนะครับ

น้ำมันงากับกรดไขมันโอเมก้า-3

กรดไขมันโอเมก้า -3 เป้นกรดไขมันที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับ มีสรรพคุณในการเสริมสร้างสุขภาพ ระบบหัวใจและหลอดเลือด และยับยั้งการอักเสบ
     กรดไขมันโอเมก้า-3 พบมากในอาหารสองกลุ่ม คือ ปลาและน้ำมัน
    กลุ่มที่เป้นปลา จะพบมากใน ปลาไหลทะเล ปลาซาบะ ปลาทูน่า ปลาทู ปลารัง ปลาอินทรี ปลาโอ ปลากะพง ปลาสำลี ปลาแซลมอน และพบในปลาน้ำจืดสามชนิดคือ ปลาช่อน ปลานวลจันทร์ ปลาบู่
    สำหรับกลุ่มน้ำมัน พบใน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันงา และน้ำมันรำข้าว

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

ไขมันดี(HDL) vs ไขมันร้าย(LDL)

วันนี้มีโอกาสได้อ่านหนังสือนิตยสารชีวจิต มีบทความที่น่าสนใจและมีประโยชน์เรื่อง "รอบรู้การบริโภคไขมัน"  ขออณุญาตินำบางส่วนมาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจนะครับ
     คุณ ชนิกา จรจำรัส นักกำหนดอาหาร อธิบายถึงไขมันดีและไขมันร้ายว่า
     HDL (High Density Lipoprotein) เป็นไขมันที่ดีที่ได้จาการรับประทานอาหาร โดยหลังจากไขมันในอาหารผ่านกระบวนการต่างๆ แล้วจะได้เป็น HDL ซึ่งทำหน้าที่เหมือนคนเก็บขยะที่จะไปเก็บคอเลสเตอรอลไม่ดีจากที่ต่างๆในเลือดและพาไปเผาผลาญที่ตับ
     LDL (Low Density Lipoprotein) เป็นไขมันชนิดร้ายที่ได้จากการรับประทานอาหารเช่นกัน โดยเมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง (แมโครฟาจ) มากัดกิน LDL และเกิดการแตกตัว LDL จะกลายเป็นโฟมเซลล์ และในที่สุดจะกลายเป็นพลัคเกาะอยู่ตามหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวได้ง่าย ตีบตัน ปริแตกได้ง่าย
สำหรับแหล่งที่มาของไขมันดีและไขมันร้ายจะมาเล่าสู่กันฟังอีกทีนะครับ
ขอขอบคุณนิตยสารชีวจิตฉบับ 16 กันยายน 2552

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

สถานที่จำหน่ายน้ำมันงาในเชียงใหม่ครับ

น้ำมันงา ตรากล้วยไม้ วางจำหน่ายในเชียงใหม่จังหวัดอื่นด้วยครับ
ในเชียงใหม่วางจำหน่ายที่
ร้านดอยคำ ตรงคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ร้านวนัสนันท์ สาขาใหญ่
ร้าน Good Health สุริวงค์
ร้านท้อแสงทอง ถนนเชียงใหม่-หางดง
สำหรับจังหวัดอื่นๆ มีตามร้านขายของฝากหรือผลิตภัณ OTOP
สอบถามได้ตามเบอร์โทรในหน้าสินค้านะครับ

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

ออกงาน OTOP ที่ The Mall โคราชครับ

ขอประชาสัมพันธ์ครับ
วันที่ 18-24 กันนายน 2552 ทางบ้านได้ไปร่วมออกร้านจำหน่ายสินค้าที่ The Mall โคราชนะครับ
เป็นงาน OTOP ได้นำสินค้า OTOP 5 ดาว ของแม่ฮ่องสอนไปร่วมงานด้วยครับ เป็นน้ำมันงาหีบเย็น ตรากล้วยไม้ครับ นอกจากนั้นยังนำงาดำคั่ว งาดำป่น และถั่วเหลืองคั่วกรอบ ไปจำหน่ายในงานนี้ สำหรับผู้สนใจเข้าไปสอบถามในงานได้นะครับ
(คนไปออกงานเป็นคุณน้าของผมเองครับ)
ขอให้ทุกท่านเที่ยวงานอย่างมีความสุขและได้สินค้ามีคุณภาพราคาย่อมเยากันนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

น้ำมันงา กับ oil pulling

ประมาณหนึ่งปีมานี้ ผมได้ยินเรื่องราวของการนำน้ำมันงามาทำ oil pulling ตามสื่อต่างๆ ส่วนมากจะกล่าวถึงประโยชน์อันน่ามหัศจรรย์ของการทำ oil pulling หลากหลายด้าน ส่วนใหญ่เป็นการฟังต่อๆกันมา ผมจะพยายามลองหาข้อมูลมาเล่าสู่กันฟังครับ จะมาอัพเดทเรื่อยๆนะครับ (^_^)
ข้อมูลเท่าที่พอรวบรวมได้คือ oil pulling เป็นรูปแบบการดูแลสุขภาพแบบการแพทย์ทางเลือก มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย(การแพทย์อายุรเวช) โดยเชื่อว่าเป็นวิธีการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม สามารถดูดสารพิษหรือล้างพิษจากร่างกาย สามารถบำบัดโรคได้มากมายหลายอย่าง ตั้งแต่ปวดศีรษะ โรคตับ โรคลำไส้ อาการนอนไม่หลับ ภูมิแพ้ ความดัน เบาหวาน ข้อสำคัญคือต้องเป็นน้ำมันที่ได้จากกระบวนการบีบเย็นหรือหีบเย็น(cold press) เท่าที่เห็นนิยมใช้กันจะเป็นน้ำมันงา และน้ำมันดอกทานตะวัน
ขั้นตอนการทำ oil pulling
ใช้น้ำมันงาหรือน้ำมันทานตะวันประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ อมกลั้วปากประมาณ 15-20 นาที แนะนำให้ทำตอนท้องว่าง เช่นหลังตื่นนอนตอนเช้า ให้น้ำมันเคลื่อนไหวช้าๆในปาก เมื่อเวลาผ่านไปน้ำมันจะเปลี่ยนจากสีเหลืองใสเป็นสีขาวขุ่น และคลายความหนืดไป หลังจากนั้นคายน้ำมันออกมา ระวังไม่ควรกลืนกินลงไปเนื่องจากเชื่อว่าเป็นสารพิษต่างๆที่ถูกดึงออกมา(pulling)
ผมลองหาหลักฐานงานวิจัยทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับ oil pulling จากฐานข้อมูล pubmed ยังมีการวิจัยที่มีแบบแผนยืนยันน้อยอยู่ครับ มีงานวิจัยที่เห็นผลชัดเจนเป็นงานวิจัยของทัณฑแพทย์ชาวอินเดียครับ ได้ใส่ลิ้งต้นฉบับไว้ด้านข้าง แล้วจะค่อยๆแปลสรุปเป็นภาษาไทยอีกทีครับ...ค่อยมาต่อนะครับ